<พระบรมราโชวาทพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว >
คุณธรรม

สิ่งใดที่เห็นว่าถูกต้องแล้ว ท่านจะต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำ ก็จะพาให้เกิดความท้อถอย ทำให้มีคนทำงานจริงน้อยลง งานทุกอย่าง คุณธรรม ทุกอย่าง จะเสื่อมทรามลงจนหมดสิ้น เมื่อท่านกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง ก็จะเป็นตัวอย่าง ชักนำผู้มีความรู้สติปัญญาทั้งหลาย ให้มีกำลังใจและ มีความเข้มแข็งที่จะปฏิบัติเช่นเดียวกัน
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๑๔)

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

เมืองไทยรอดเพราะโครงสร้างของประเทศ หรือนิสัยของประชากรชาวไทย ประชากรนี่ หมายถึงประชาชนที่อยู่ในกรุง ประชาชนที่อยู่ในชนบท ประชาชนที่อยู่ชายทะเล ประชาชนที่อยู่บนภูเขา ยังดี คนยังมีจิตใจที่กล้าคิด กล้าทำ ถ้าทำตามคุณสมบัติของคน คือ คุณธรรมคนหรือความดีของคน เมืองไทยสบาย ไม่ต้องให้ต่างประเทศมาขุด แม้จะมีต่างประเทศมาขุด เขาก็ขุดให้เรา เขาก็แบ่ง ให้เราด้วย เราก็แบ่งให้เขา นี่ก็เลยกลายเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบ เศษ ๑ ส่วน ๔ หรือมากกว่าเศษ ๑ ส่วน ๔ ด้วยความพอเพียง ที่แปลว่า พอประมาณ และมีเหตุมีผล อันนี้ก็กลับมาถึงที่เศรษฐกิจพอเพียง ก็เลยนึกว่าเป็นสิ่งที่น่าจะนำไปคิด ของ
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา: ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การดำเนินการและเตรียมการ พ.ค. ๕๒

ด้านการถวายความปลอดภัย
๑. วันอาทิตย์ที่ ๓ วันจันทร์ที่ ๔ พ.ค.๕๒ เวลา ๑๗๐๐ และ วันอังคารที่ ๕ พ.ค.๕๒ เวลา ๑๐๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ,สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จฯ ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีฉัตรมงคล
ภารกิจ ร.๑ พัน.๔ รอ. จัดตั้งกองรักษาการณ์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท , นายทหารตามเสด็จ ฯ และชุดปฏิบัติการ ทั้ง ๓ วัน การแต่งกาย กองรักษาการณ์ ชุดครึ่งยศ
๒. วันพฤหัสบดีที่ ๗ พ.ค.๕๒ เวลา ๑๕๐๐ และวันศุกร์ที่ ๘ พ.ค.๕๒ เวลา ๑๘๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, โปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จ ฯ แทนพระองค์ ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา
ภารกิจ ร.๑ พัน.๔ รอ. จัดตั้งกองรักษาการณ์ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทั้ง ๒ วัน สำหรับ
กองรักษาการณ์ การแต่งกาย ชุดพระราชฐาน
๓. วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พ.ค.๕๒ เวลา ๑๗๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, โปรดเกล้า ฯ ให้
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จ ฯ แทนพระองค์ ไปในการพระราชพิธีจรด
พระนังคัลแรกนาขวัญ
ภารกิจ ร.๑ พัน.๔ รอ. จัดตั้งกองรักษาการณ์ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท การแต่งกาย
ชุดพระราชฐาน
๔. วันจันทร์ที่ ๑๑ พ.ค.๕๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, โปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ แทนพระองค์ ไป ณ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เพื่อ ทอดพระเนตรนิทรรศการ และรับรายงานความก้าวหน้า และผลการดำเนินการของโครงการ
ภารกิจ ร.๑ พัน.๔ รอ. จัดยามถวายพระเกียรติ ฯ ชุดปฏิบัติการ และยามเสริม รก.ชั้นนอก บริเวณโครงการส่วนพระองค์ ฯ
๕ วันที่ ๑๒ – ๑๕ พ.ค.๕๒ ฯพณฯ ท่านประธานประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว และภริยา จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และจะพำนัก ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในระหว่าง ๑๒ – ๑๔ พ.ค.๕๒
ภารกิจ ร.๑ พัน.๔ รอ. จัดตั้งกองรักษาการณ์ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทระหว่าง วันที่ ๑๒ – ๑๔ พ.ค.๕๒ การแต่งกาย ชุดพระราชฐาน และชุดเต็มยศ


ด้านการฝึก

๖. วันที่ ๒๗ เม.ย. – ๑๕ พ.ค.๕๒ เป็นการฝึกเฉพาะหน้าที่ทหารมหาดเล็ก ณ บริเวณลานเอนกประสงค์ ร.๑ พัน.๔ รอ. ( ไม่มีการฝึกภาคสนาม)
๗. วันที่ ๑ พ.ค.๕๒ – ๗ ก.ค.๕๒ ทำการฝึกทหารใหม่ ผลัดที่ ๑/๕๒ หน่วยได้รับทหารใหม่ผลัดที่ ๑/๕๒ จำนวน ๑๔๘นาย ผู้ฝึก ร.ต.ปิติ กริษฐาทิพย์ หน่วยฝึกจัดตั้งร้อย ปล.ที่ ๔ ฯ
๘. วันที่ ๒๔- ๓๐ พ.ค. ๕๒ ร.๑ พัน.๔ รอ. ส่งกำลังพลเข้ารับการทดสอบผู้ชำนาญการทหารราบที่ ณ ศูนย์การทหารราบ จำนวน ๑ นาย จ.ส.อ.พิชิต ไชยหมื่น สังกัด ร้อย ปล.ที่ ๔ ฯ
๙. การดำเนินการเตรียมการในการฝึกหลักสูตรทหารมหาดเล็ก รุ่นที่ ๕ การทดสอบร่างกาย
ได้เสร็จสิ้นแล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการ รอรับผลการตรวจโรคจาก รพ.พระมงกุฎ ฯ จากจึงจะไป
ตรวจโรค ที่ รพ.ทหารเรือ ต่อไป
ด้านกิจการพลเรือน
๑๐. วันที่ ๕ พ.ค.๕๒ เวลา ๐๖๓๐ – ๐๘๒๕ ร.๑ พัน.๔ รอ. จัดกำลังพลเข้าร่วมเดินเทิดพระเกียรติ” วันฉัตรมงคลรำลึก” ณ ลานพระราชวังดุสิต และบริเวณประตูพระวรุฬอยู่เจน
การปฏิบัติ
- ร้อย.บก.,ร้อย.ปล.ที่ ๑,๒,๓,๔,๕ จัดกำลังพลกองร้อยละ ๒ นาย
- ร้อย.สน.ฯ จัด กพ.( พลฯ) ๒ นาย และ ส.อาวุโส ๑ นาย ควบคุมการปฏิบัติเป็นส่วนรวม
- ฝกบ.ฯ จัดยานพาหนะสนับสนุน ๑ คัน พร้อมใน ๕ พ.ค.๕๒ เวลา ๐๔๓๐ พร้อม
ที่บริเวณลานเอนกประสงค์ ร.๑ พัน.๔ รอ.

ด้านฝ่ายกรรมวิธีข้อมูล
๑๑. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำวัน ปัจจุบันทุกกองร้อยดำเนินการเป็นที่เรียบร้อย แล้ว และ มีเพียงบางกองร้อยที่ไม่มีการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัย ดังนี้
- ฐานข้อมูล ร้อย ปล.ที่ ๑ ( ตามภาพฉาย )
- ฐานข้อมูล ร้อย.ปล.ที่ ๒ ( ตามภาพฉาย )
- ฐานข้อมูล ร้อย.ปล.ที่ ๓ ( ตามภาพฉาย )
- ฐานข้อมูล ร้อย.ปล.ที่ ๔ ( ตามภาพฉาย )
- ฐานข้อมูล ร้อย.ปล.ที่ ๕ ( ตามภาพฉาย )
- ฐานข้อมูล ร้อย.บก. ( ตามภาพฉาย )
- ฐานข้อมูล ร้อย. สน.ฯ ( ตามภาพฉาย )
วิธีในการเข้าถึงข้อมูล ในส่วนรหัสการเข้าถึงข้อมูล ฝ่ายกรรมวิธีได้ดำเนินการมอบผู้บังคับบัญชาเรียบร้อยแล้ว พิมพ์ www.rta.mi.th/21114u เว็บไซต์กองพัน จากนั้นเข้าที่ สถานภาพกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ทุกกองร้อย จะมีรายละเอียดกองร้อย ตามภาพ จากนั้นคลิ๊ก เลือกกองร้อย

แล้วพิมพ์รหัสเข้าไป ในการพิมพ์รหัส พิมพ์ครั้งเดียวสามารถดูต่อเนื่องทุกกองร้อย การเข้าดูข้อมูลนั้นเฉพาะผู้ที่ ระบุเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นไม่สามารถเข้าดูได้ ( ผบ.ร.๑ พัน.๔ รอ.,รอง (๑,๒) ฝอ.๓ ,
ผช.ฝอ.๓ และฝ่ายกรรมวิธีข้อมูล) ในส่วน ผบ.ร้อย. จะดูข้อมูลเฉพาะกองร้อยตนเองเท่านั้น
๑๒. ปัจจุบันกระแสสื่อ อินเตอร์เน็ตส์ มีบทบาทเป็นอย่างมาก อยากให้ทุกร้อย ได้นำเอา
พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มานำเสนอ
ในเว็บของกองร้อย เพื่อเป็นการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ อีกทางหนึ่ง

ความสำคัญวันฉัตรมงคล

ความสำคัญ
วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือ พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสด็จนิวัติในประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้า ฯ จักพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก
พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
1. ขั้นเตรียมงานพระราชพิธี เริ่มตั้งแต่พิธีตักน้ำ และทำพิธีเสกน้ำ ณ เจดีย์สถานสำคัญจากสถานที่ตักน้ำ ก่อนที่จะส่งเข้ามาทำพิธีต่อไปในพระนคร น้ำที่เสกนี้ใช้สำหรับถวายบสำหรับถวายเป็น น้ำอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยมีระเบียบกำหนดให้ ใช้น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ และสรภู ในชมภูทวีป หรือที่เรียกว่า "ปัญจมหานที" แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ห่างจากชมภูทวีปมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำ 18 แห่ง จากภายในพระราชอาณาจักรแทน นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกดวงพระราชสมภพในพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชสัญจกร
2. พิธีเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ตั้งนำวงด้วย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์
3. พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก เริ่มจากสรงมุรธาภิเษก ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพราหมณ์นั่งประจำทิศทั้ง 8 กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และถวายดินแดนให้อยู่ในความคุ้มครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ขึ้นสู่พระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ พระมหาราชครูเริ่มร่ายเวทย์พิธีพราหณ์เมื่อร่ายเวทย์เสร็จแล้วจึงกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องราชกกุธ คือ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ ไดแก่พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี ฉลองพระบาทเมื่อทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎสวมพระเศียร เจ้าพนักงานจะประโคมดนตรี ทหารยิงปืนใหญ่ พระสงฆ์เคาะระฆัง และสวดชัยมงคลคาถาทั่วพระราชอาณาจักร หลังจากนั้นพราหมณ์ถวายพระแสงศาสตราวุธเป็นอันเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
4. พิธีเบื้องปลาย เมื่อเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จออก ณ มหาสมาคม เพื่อให้เหล่าข้าราชการ และประชาชนได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชาภิเษก และตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ได้มีพระราชพิธีประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี นอกจากนั้นเสร็จพระราชดำเนินเพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกษัตริยาธิราชเจ้า ในพระบรมมหาราชวัง
5. เสด็จเยี่ยมราษฎร เมื่อทรงเสด็จพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินให้ราษฎรได้มีโอกาสชมพระบารมี
การจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคลในอดีต
แต่เดิมเป็นงานพิธีเฉลิมฉลองของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในหกเดือน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ในอารยประเทศย่อมนับถือว่า วันคล้ายวันบรมราชาบรมราชาภิเษกเป็นวันมงคลสมัยควรเฉลิมฉลอง จึงทรงริเริ่มวันฉัตรมงคลขึ้นแต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ อธิบายให้ฟังก็ไม่เข้าใจ เผอิญวันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม จึงทรงอธิบายว่า ฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภคทำให้ไม่มีใครติดใจสงสัย
พระบาทสมเด็จรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดิสิมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงถือว่า การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคลเริ่มมีในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จะโปรดเกล้า ฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงวันคล้ายบรมราชาภิเษก ท่านผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษา ประเพณีสมโภชเครื่องราชูโภคอยู่ตามเดิม รูปงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นดังนี้จนถึงปัจจุบัน
การจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน
ในขั้นตอนการจัดงานฉัตรมงคลในปัจจุบัน มักกำหนดให้เป็น 3 วัน คือ วันที่ 3 พฤษภาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระบรมราชบุพการี ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทน์วินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย
ในวันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้พระมหาปฎเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
ในวันที่ 5 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์
ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี
ในวันฉัตรมงคลสำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม งานพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี
และเนื่องในมหามงคลสมัย ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบรอบปี 50 ปีในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 ทางราชการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลยิ่ง
Google