<พระบรมราโชวาทพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว >
คุณธรรม

สิ่งใดที่เห็นว่าถูกต้องแล้ว ท่านจะต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำ ก็จะพาให้เกิดความท้อถอย ทำให้มีคนทำงานจริงน้อยลง งานทุกอย่าง คุณธรรม ทุกอย่าง จะเสื่อมทรามลงจนหมดสิ้น เมื่อท่านกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง ก็จะเป็นตัวอย่าง ชักนำผู้มีความรู้สติปัญญาทั้งหลาย ให้มีกำลังใจและ มีความเข้มแข็งที่จะปฏิบัติเช่นเดียวกัน
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๑๔)

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

เมืองไทยรอดเพราะโครงสร้างของประเทศ หรือนิสัยของประชากรชาวไทย ประชากรนี่ หมายถึงประชาชนที่อยู่ในกรุง ประชาชนที่อยู่ในชนบท ประชาชนที่อยู่ชายทะเล ประชาชนที่อยู่บนภูเขา ยังดี คนยังมีจิตใจที่กล้าคิด กล้าทำ ถ้าทำตามคุณสมบัติของคน คือ คุณธรรมคนหรือความดีของคน เมืองไทยสบาย ไม่ต้องให้ต่างประเทศมาขุด แม้จะมีต่างประเทศมาขุด เขาก็ขุดให้เรา เขาก็แบ่ง ให้เราด้วย เราก็แบ่งให้เขา นี่ก็เลยกลายเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบ เศษ ๑ ส่วน ๔ หรือมากกว่าเศษ ๑ ส่วน ๔ ด้วยความพอเพียง ที่แปลว่า พอประมาณ และมีเหตุมีผล อันนี้ก็กลับมาถึงที่เศรษฐกิจพอเพียง ก็เลยนึกว่าเป็นสิ่งที่น่าจะนำไปคิด ของ
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา: ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

เรื่องที่ไม่บังควรอย่างยิ่ง




นสพ.ไทยรัฐ ฉบับ วันเสาร์ที่ 14 มีนาฯ 2552 มีบางอย่างที่คิดว่าไม่เหมาะสม...



ขอโทษ, ที่ไม่ได้โพสต์รูป หน้าหนึ่งของ นสพ. ฉบับดังกล่าว มาให้ดู (เพราะโพสต์ไม่เป็น)
แต่เชื่อว่า เกือบทุกบ้านน่าจะมีอยู่...ลองหยิบมาดูหน้า 1 นะครับ...
คอลัมซ้ายมือ พาดหัวว่า "ในหลวง เสด็จกลับ" ตามด้วยเนื้อข่าว ประกอบรูป...เชื่อมั้ยว่า เป็นรูป พ.ต.ท.ทักษิน ชินวัตร อยู่ในล้อมกรอบเดียวกัน..(ขอเน้นคำว่า ล้อมกรอบเดียวกัน) ผมพยายามหาข่าวเกี่ยวกับคุณทักษิน ตั้งนาน ปรากฏว่าไปอยู่ด้านล่าง แยกคอลัมน์ แยกล้อมกรอบ ด้วย... เรียกว่า ห่างจากข่าวในหลวงเยอะเลย...
ตอนแรกคิดว่า อาจเป็นข้อจำกัดเรื่องการวางเลย์เอาท์...แต่ดูแล้วไม่ใช่เลย เพราะยังแทรกรูป ทักษิณ ให้อยู่ในล้อมกรอบเดียวกับข่าวที่พาดหัวว่า "ทักษิณ เต้น-แก้ตัว" ได้ (ตามหลักการๆ จัดวางเลย์เอาท์)
เรื่องนี้ ขอเชื่อไว้ก่อนว่า เป็นเรื่องไม่ตั้งใจ แต่ถึงกระนั้น บ.ก.ข่าวหน้าหนึ่ง ควรดูให้ดี โดยเฉพาะ การเอารูปประกอบในข่าวพระเจ้าอยู่หัว....เพราะไม่บังควรอย่างยิ่ง ที่จะเอารูปอื่นไปอยู่ในล้อมกรอบเดียวกับข่าวพระองค์ท่าน, ยกเว้น พระบรมฉายาทิศลักษณ์ของพระองค์ท่านเท่านั้น...
จึงอยากโพสต์มาเป็นข้อสังเกต และขอให้ นสพ. ยักษ์ใหญ่ พึงระวัง ในเรื่องนี้ เป็นอย่างยิ่ง...
จะเป็นความเผลอเรอ หรืออะไรก็ตาม..กรุณาใช้วิจารณญาน ในการจัดวางเลย์เอาท์ด้วย...


ข้อมูลแหล่งข่าว http://www.oknation.net/blog/chat96/2009/03/14/entry-1

นโยบายปลัดกระทรวงกลาโหม

นโยบายปลัดกระทรวงกลาโหม พลเอก อภิชาต เพ็ญกิตติ

เจตนารมณ์ของปลัดกระทรวงกลาโหม พัฒนาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมให้ได้รับความเชื่อมั่นจากหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและ เหล่าทัพ ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงกลาโหมในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ อำนวยการ และกำกับดูแล รวมทั้งผลักดันให้ กระทรวงกลาโหมมีบทบาทนำ ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักด้านความมั่นคงของชาติ ในการป้องกันประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และเป็นกลไก ด้านความมั่นคงที่สำคัญของประชาคม การเมืองความมั่นคงระหว่างประเทศนโยบายทั่วไป
๑. น้อมนำพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลักในการปฏิบัติราชการ เพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ของทุกภาคส่วนให้เกิดความมั่นคง และความสงบสุขในสังคมไทยให้ยั่งยืนตลอดไป
๒. ยึดถือและปฏิบัติตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมทั้งนโยบายและการสั่งการของอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม
๓. ยึดถือและปฏิบัติตามพันธกิจ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนด ในแผนปฏิบัติราชการ รวมทั้งเป้าหมาย ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมนโยบายเฉพาะ
๑. เร่งรัดการพัฒนาขีดความสามารถและบทบาทของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมให้เป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงกลาโหม ในงานด้านนโยบาย และยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง และแนวทางการปฏิบัติแก่หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ เพื่อนำไปปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งการอำนวยการและกำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผล
๒. เร่งรัดการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลและหน่วยงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ให้มีบทบาทนำในการดำเนินงานความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มกระทรวงกลาโหมอาเซียน ทั้งนี้ เน้นการดำรงไว้ ซึ่งการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและเพิ่มความสำคัญให้กับการป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น
๓. ส่งเสริมและสนับสนุนให้กำลังพลทุกระดับ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยการสอบคัดเลือกไปศึกษาต่อ ฝึกอบรม ประชุมและสัมมนาในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยภายในประเทศ และต่างประเทศ ด้วยการตั้งโครงการให้ทุนการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และแสวงหาทุนการศึกษา จากมิตรประเทศ
๔. การปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วยและระบบงานในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จะต้องประสานกับหน่วยขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ ให้เป็นไปตามแผนแม่บทการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ๕ R ดังนี้
๔.๑ Right Structure คือ การมีโครงสร้างการจัดหน่วยที่ถูกต้อง เหมาะสม
๔.๒ Right Sizing คือ การมีขนาดและอัตรากำลังของหน่วยที่ถูกต้องและเหมาะสม
๔.๓ Right Management คือ การมีการบริหารการจัดการที่ดี
๔.๔ Right Attitude คือ การมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในงานที่ตรงตามหน้าที่ และมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วย
๔.๕ Right Training คือ การมีระบบการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับงานที่ปฏิบัติ
๕. ปรับปรุงและพัฒนาระบบงานกำลังพลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นจะต้องปกครองบังคับบัญชา และบริหารจัดการกำลังพล ด้วยความยุติธรรม มีคุณธรรม ดูแลสิทธิกำลังพลรวมทั้งสวัสดิการของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น รวมทั้งครอบครัว โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้น้อยให้มีขวัญกำลังใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยให้กรมเสมียนตราเป็นหน่วยรับผิดชอบกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านกำลังพลให้แก่หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ
๖. ปรับปรุงและพัฒนา การให้บริการทางการแพทย์ เพื่อให้กำลังพลทุกระดับ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสมบูรณ์โดยให้บริการและดูแลกำลังพลให้ทั่วถึงทุกระดับ รวมทั้งการจัดชุดแพทย์เคลื่อนที่ หมุนเวียนให้บริการในพื้นที่ที่ตั้งหน่วย และบ้านพักของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตามขีดความสามารถ และห้วงเวลาที่เหมาะสม
๗.ปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและตรงตามความต้องการของหน่วยใช้โดยการปรับปรุงแหล่งผลิต โครงสร้างและการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ สร้างกลไกการตลาดสามารถรองรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ทั้งในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ โดยการร่วมงาน ร่วมทุนหรือดำเนินการกับภาคเอกชนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้เป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งไปสู่การพึ่งพาตนเอง
๘. ปรับปรุงและพัฒนากิจการพลังงานทหาร เพื่อมุ่งไปสู่การสะสมแหล่งพลังงานสำรอง สนับสนุนให้กับเหล่าทัพในยามวิกฤตและยามสงคราม รวมทั้งการเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการด้านพลังงานทดแทน และด้านสายวิทยาการการพลังงานทหารของกระทรวงกลาโหม
๙. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างการจัดหน่วยและระบบงานการระดมสรรพกำลัง งานการกำลังสำรองของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพและมีขีดความสามารถในการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกองบัญชาการกองทัพไทยและเหล่าทัพ ตามแผนที่กำหนด
๑๐. ปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปสู่การเป็นกระทรวงกลาโหมอิเล็กทรอนิคส์ (e – defence) รวมทั้งพัฒนางาน ด้านกิจการอวกาศและภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อความมั่นคงให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม และดำเนินการเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารราชการทั่วไปของกระทรวงกลาโหม ให้สามารถติดต่อเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานในกระทรวงกลาโหมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลเป็นรูปธรรม
๑๑. ส่งเสริมและเร่งรัดการพัฒนาระบบงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ตามแผนแม่บท การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม และนโยบายการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องประเทศ โดยมุ่งเน้นการขยายผลงานการวิจัยและพัฒนา เพื่อนำไปสู่การผลิตในงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และการนำไปใช้งานที่เป็นรูปธรรมและได้รับการยอมรับจากหน่วยใช้ โดยพิจารณาให้หน่วยงานพลเรือนและภาคเอกชน ที่มีขีดความสามารถเข้ามามีส่วนร่วม
๑๒. ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยหลัก ในการประสานงานบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือประชาชนตามแผนบรรเทาสาธารณภัย ของกระทรวงกลาโหม รวมทั้งประสานการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ งานด้านพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคง งานด้านกิจการพลเรือน การแก้ปัญหาสังคมยามวิกฤต ตามนโยบายของรัฐบาลร่วมกับส่วนราชการทั้งภายในและภายนอกกระทรวงกลาโหม ตลอดจนมิตรประเทศโดยใกล้ชิดและรวดเร็ว
๑๓ . การปฏิบัติราชการต้องยึดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เน้นการกระจายอำนาจการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างการจัดหน่วยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง การใช้เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กร การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการให้เป็นรูปธรรมทั้งระดับหน่วย และบุคคล รวมทั้งการพัฒนากำลังพลให้มีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่กับความสามารถในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้การดำเนินการต้องประสานสอดคล้องกับแบบธรรมเนียมทหาร
๑๔. ปรับปรุงและพัฒนาระบบงบประมาณ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด บรรลุเป้าหมาย ตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีที่กำหนดไว้ โดยให้ สำนักงบประมาณกลาโหม เป็นหน่วยรับผิดชอบกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ ด้านงบประมาณให้แก่หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ
๑๕. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการเงินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในด้านสิทธิกำลังพล การให้บริการแก่ข้าราชการทหาร พนักงานราชการและลูกจ้าง รวมทั้งผู้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ โดยให้กรมการเงินกลาโหมเป็นหน่วยงานหลักในสายวิทยาการด้านการเงิน กำหนดแนวทางในการปฏิบัติด้านการเงินของกระทรวงกลาโหม
๑๖. การจัดหาพัสดุ อาวุธยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปกรณ์ของทุกหน่วยในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จะต้องปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มีประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน และมีผู้รับผิดชอบในทุกกระบวนการ
๑๗. ปรับปรุงและพัฒนาระบบงานด้านกฏหมายทหารรวมทั้งปรับปรุงและพัฒนากฏหมาย กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ภารกิจ โครงสร้าง การจัดหน่วย และอัตราสิ่งอุปกรณ์ ให้เหมาะสมทันสมัยและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๕๑ และสภาพแวดล้อมของประเทศ

นโยบายรัฐมนตรีกลาโหม

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา แถลงในการประชุมสภากลาโหม ครั้ง ที่ ๑๐/๒๕๔๕เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ต.ค.๔๕

๑. นโยบายทั่วไป
๑.๑ การปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ ให้ดำเนินการโดยยึดถือนโยบายและสั่งการของ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่ยังมิได้ยกเลิก แก้ไข เพิ่มเติม ต่อไป และให้ถือปฏิบัติตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ และนโยบายด้านอื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
๑.๒ ให้พิจารณาปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ใน ส่วนที่กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่ตราออกมารองรับรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๕ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ รวมทั้ง ให้พิจารณาถึงปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบ ต่อการปฏิบัติภารกิจของกระทรวงกลาโหม และเสนอแนะหนทางปฏิบัติ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
๑.๓ ให้พิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของกระทรวงกลาโหม ตลอดจนภารกิจอื่นตามที่ได้ รับมอบหมายเป็นการเฉพาะจากรัฐบาล
๒. นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รองรับนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ
๒.๑ พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม ทั้งในด้านการจัดส่วนราชการ การพัฒนากำลังพล ยุทโธปกรณ์ และการบริหาร จัดการ รวมทั้ง จัดเตรียมกำลังส่วนหนึ่งในลักษณะกองกำลังร่วมพร้อมรบเคลื่อนที่เร็วให้มีขีดความสามารถปฏิบัติการได้ทุกสถานการณ์ ทุกพื้นที่ และตลอดเวลา
๒.๒ พัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรของกองทัพให้สามารถพึ่งพาตนเอง มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจเพื่อการป้องกันประเทศ รักษาความมั่นคง และรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
๒.๓ พัฒนาบทบาทการผนึกกำลังกับภาคประชาสังคมเพื่อการป้องกันประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ในยามปกติ และนำไปสู่การระดมสรรพกำลังในยามไม่ปกติ โดยการนำพลังอำนาจแห่งชาติทุกด้านมาใช้ สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเพื่อความมั่นคงร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงกลาโหมอย่างเป็นเอกภาพ โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยง ติดต่อประสานงานอย่างใกล้ชิด และมีประสิทธิภาพ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงกลาโหม
๒.๔ พัฒนาบทบาทความร่วมมือทางทหารกับประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มประเทศอาเซียน และ มิตรประเทศในทุกระดับอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความหวาดระแวง สร้างสันติภาพและความสงบสุข รวมทั้งสนับสนุนภารกิจเพื่อสันติภาพ และปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรม ภายใต้กรอบของสหประชาชาติ และผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก
๒.๕ ปรับปรุงการบริหารจัดการของหน่วยทุกระดับ โดยพิจารณาจาก ความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ ทันสมัย มีการกระจายอำนาจ ลดความซ้ำซ้อน ในลักษณะการยกเลิกงานที่หมดความจำเป็น โอนงานที่ดำเนินการแล้วไม่คุ้มค่าให้หน่วยงานอื่น หรือให้เอกชนดำเนินการแทน
๒.๖ ปรับปรุงและพัฒนา ระบบการข่าวให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี ให้ผู้บังคับบัญชาสามารถพิจารณาตกลงใจสั่งการได้อย่างถูกต้อง ทันเวลา โดยจัดให้มีระบบเฝ้าตรวจและแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า และการต่อต้านข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ
๒.๗ พัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทหาร ให้มี ประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากร เพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศ และนำไปสู่การพัฒนา ขีดความสามารถของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ทางทหาร การวิจัยและพัฒนาทางทหาร
๒.๘ พัฒนาระบบกำลังสำรอง ระบบการระดมสรรพกำลัง และระบบส่งกำลังบำรุง ให้มีขีดความสามารถขยายกำลังในยามสงครามได้อย่างเพียงพอ ทันเวลา ตามแผนป้องกันประเทศ รวมทั้ง ปรับโครงสร้างและจำนวนกำลังพลประจำการ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ภัยคุกคามและข้อจำกัด ด้านงบประมาณ
๒.๙ ปรับปรุงกิจการด้านสวัสดิการ การบริการทางการแพทย์ และการบริการด้านอื่น ๆ ให้แก่กำลังพลและครอบครัว โดยกำลังพลจะต้องได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามสิทธิอันพึงมี อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม รวมทั้ง ให้ดูแลทหารผ่านศึกและครอบครัว ให้ได้รับการบริการตามสิทธิอย่างครบถ้วน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น สามารถดำรงชีพในสังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี โดยเฉพาะทหารผ่านศึก และครอบครัวที่ต้องเสียชีวิต พิการ ทุพพลภาพในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อตอบแทนคุณงามความดีในการ เสียสละต่อสังคม และประเทศชาติ
๒.๑๐ ดำเนินการบริหารจัดการงบประมาณของกระทรวงกลาโหมโดยมุ่งเน้นการนำทรัพยากรที่ได้รับไปใช้ให้เกิดผลผลิต และผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม และพิจารณากำหนดมาตรฐานของ การวัดและประเมินผล ให้สอดคล้องกับแนวทางตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
๒.๑๑ สนับสนุนภารกิจการป้องกัน ปราบปรามเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด และบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติดตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล รวมทั้ง กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ทหาร อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม
๒.๑๒ พัฒนาบทบาทในการปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม มุ่งเสริมสร้างความมั่นคงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการเร่งแก้ไขปัญหา คุณภาพชีวิตของประชาชน สนับสนุนกิจกรรมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และรักษาผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชน การบรรเทาสาธารณภัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์1 : ว่าด้วยมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี หนึ่ง สอง สาม สี่

ร่าง) นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์1 : ว่าด้วยมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี หนึ่ง สอง สาม สี่

วัน อังคาร ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551 21:21 น.เปิดร่างรัฐบาล อภิสิทธิ์1 ที่เตรียมนำแถลงต่อสภา พบมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี เน้นแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นประชาชนและเอกชน เพิ่มรายได้ พร้อมลดค่าครองชีพ ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจและคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน ทำหน้าที่เร่งรัดแก้ไขปัญหา หมายเหตุ : คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างนโยบายรัฐบาล เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม เพื่อให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นำไปแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 29 - 30 ธันวาคม 2551 โดยมีเนื้อหาทั้งสิ้น 36 หน้า มติชน จึงขอนำเสนอในส่วนของมาตการเร่งด่วนระยะ 1 ปี
รัฐบาลถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่ต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มั่นคงตามแนวทางระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ
ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพอย่างจริงจัง
สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน
ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ
พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล
รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดิน โดยน้อมนำหลักการปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นการใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ 1.ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และ 2.ระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้
1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก
1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค
1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท
1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม
1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน
1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้
1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน
1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน
1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน
1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร
1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย
1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ
1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้อย่างรวดเร็ว
1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ
1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก
1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน
1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง
1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด
1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน
เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน
ที่มาแหล่งข้อมูลมติชน
Google