<พระบรมราโชวาทพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว >
คุณธรรม

สิ่งใดที่เห็นว่าถูกต้องแล้ว ท่านจะต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำ ก็จะพาให้เกิดความท้อถอย ทำให้มีคนทำงานจริงน้อยลง งานทุกอย่าง คุณธรรม ทุกอย่าง จะเสื่อมทรามลงจนหมดสิ้น เมื่อท่านกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง ก็จะเป็นตัวอย่าง ชักนำผู้มีความรู้สติปัญญาทั้งหลาย ให้มีกำลังใจและ มีความเข้มแข็งที่จะปฏิบัติเช่นเดียวกัน
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๑๔)

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

เมืองไทยรอดเพราะโครงสร้างของประเทศ หรือนิสัยของประชากรชาวไทย ประชากรนี่ หมายถึงประชาชนที่อยู่ในกรุง ประชาชนที่อยู่ในชนบท ประชาชนที่อยู่ชายทะเล ประชาชนที่อยู่บนภูเขา ยังดี คนยังมีจิตใจที่กล้าคิด กล้าทำ ถ้าทำตามคุณสมบัติของคน คือ คุณธรรมคนหรือความดีของคน เมืองไทยสบาย ไม่ต้องให้ต่างประเทศมาขุด แม้จะมีต่างประเทศมาขุด เขาก็ขุดให้เรา เขาก็แบ่ง ให้เราด้วย เราก็แบ่งให้เขา นี่ก็เลยกลายเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบ เศษ ๑ ส่วน ๔ หรือมากกว่าเศษ ๑ ส่วน ๔ ด้วยความพอเพียง ที่แปลว่า พอประมาณ และมีเหตุมีผล อันนี้ก็กลับมาถึงที่เศรษฐกิจพอเพียง ก็เลยนึกว่าเป็นสิ่งที่น่าจะนำไปคิด ของ
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา: ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

นโยบายรัฐมนตรีกลาโหม

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา แถลงในการประชุมสภากลาโหม ครั้ง ที่ ๑๐/๒๕๔๕เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ต.ค.๔๕

๑. นโยบายทั่วไป
๑.๑ การปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ ให้ดำเนินการโดยยึดถือนโยบายและสั่งการของ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่ยังมิได้ยกเลิก แก้ไข เพิ่มเติม ต่อไป และให้ถือปฏิบัติตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ และนโยบายด้านอื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
๑.๒ ให้พิจารณาปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ใน ส่วนที่กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่ตราออกมารองรับรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๕ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ รวมทั้ง ให้พิจารณาถึงปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบ ต่อการปฏิบัติภารกิจของกระทรวงกลาโหม และเสนอแนะหนทางปฏิบัติ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
๑.๓ ให้พิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของกระทรวงกลาโหม ตลอดจนภารกิจอื่นตามที่ได้ รับมอบหมายเป็นการเฉพาะจากรัฐบาล
๒. นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รองรับนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ
๒.๑ พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม ทั้งในด้านการจัดส่วนราชการ การพัฒนากำลังพล ยุทโธปกรณ์ และการบริหาร จัดการ รวมทั้ง จัดเตรียมกำลังส่วนหนึ่งในลักษณะกองกำลังร่วมพร้อมรบเคลื่อนที่เร็วให้มีขีดความสามารถปฏิบัติการได้ทุกสถานการณ์ ทุกพื้นที่ และตลอดเวลา
๒.๒ พัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรของกองทัพให้สามารถพึ่งพาตนเอง มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจเพื่อการป้องกันประเทศ รักษาความมั่นคง และรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
๒.๓ พัฒนาบทบาทการผนึกกำลังกับภาคประชาสังคมเพื่อการป้องกันประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ในยามปกติ และนำไปสู่การระดมสรรพกำลังในยามไม่ปกติ โดยการนำพลังอำนาจแห่งชาติทุกด้านมาใช้ สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเพื่อความมั่นคงร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงกลาโหมอย่างเป็นเอกภาพ โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยง ติดต่อประสานงานอย่างใกล้ชิด และมีประสิทธิภาพ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงกลาโหม
๒.๔ พัฒนาบทบาทความร่วมมือทางทหารกับประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มประเทศอาเซียน และ มิตรประเทศในทุกระดับอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความหวาดระแวง สร้างสันติภาพและความสงบสุข รวมทั้งสนับสนุนภารกิจเพื่อสันติภาพ และปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรม ภายใต้กรอบของสหประชาชาติ และผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก
๒.๕ ปรับปรุงการบริหารจัดการของหน่วยทุกระดับ โดยพิจารณาจาก ความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ ทันสมัย มีการกระจายอำนาจ ลดความซ้ำซ้อน ในลักษณะการยกเลิกงานที่หมดความจำเป็น โอนงานที่ดำเนินการแล้วไม่คุ้มค่าให้หน่วยงานอื่น หรือให้เอกชนดำเนินการแทน
๒.๖ ปรับปรุงและพัฒนา ระบบการข่าวให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี ให้ผู้บังคับบัญชาสามารถพิจารณาตกลงใจสั่งการได้อย่างถูกต้อง ทันเวลา โดยจัดให้มีระบบเฝ้าตรวจและแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า และการต่อต้านข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ
๒.๗ พัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทหาร ให้มี ประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากร เพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศ และนำไปสู่การพัฒนา ขีดความสามารถของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ทางทหาร การวิจัยและพัฒนาทางทหาร
๒.๘ พัฒนาระบบกำลังสำรอง ระบบการระดมสรรพกำลัง และระบบส่งกำลังบำรุง ให้มีขีดความสามารถขยายกำลังในยามสงครามได้อย่างเพียงพอ ทันเวลา ตามแผนป้องกันประเทศ รวมทั้ง ปรับโครงสร้างและจำนวนกำลังพลประจำการ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ภัยคุกคามและข้อจำกัด ด้านงบประมาณ
๒.๙ ปรับปรุงกิจการด้านสวัสดิการ การบริการทางการแพทย์ และการบริการด้านอื่น ๆ ให้แก่กำลังพลและครอบครัว โดยกำลังพลจะต้องได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามสิทธิอันพึงมี อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม รวมทั้ง ให้ดูแลทหารผ่านศึกและครอบครัว ให้ได้รับการบริการตามสิทธิอย่างครบถ้วน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น สามารถดำรงชีพในสังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี โดยเฉพาะทหารผ่านศึก และครอบครัวที่ต้องเสียชีวิต พิการ ทุพพลภาพในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อตอบแทนคุณงามความดีในการ เสียสละต่อสังคม และประเทศชาติ
๒.๑๐ ดำเนินการบริหารจัดการงบประมาณของกระทรวงกลาโหมโดยมุ่งเน้นการนำทรัพยากรที่ได้รับไปใช้ให้เกิดผลผลิต และผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม และพิจารณากำหนดมาตรฐานของ การวัดและประเมินผล ให้สอดคล้องกับแนวทางตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
๒.๑๑ สนับสนุนภารกิจการป้องกัน ปราบปรามเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด และบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติดตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล รวมทั้ง กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ทหาร อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม
๒.๑๒ พัฒนาบทบาทในการปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม มุ่งเสริมสร้างความมั่นคงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการเร่งแก้ไขปัญหา คุณภาพชีวิตของประชาชน สนับสนุนกิจกรรมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และรักษาผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชน การบรรเทาสาธารณภัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

Google